รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค

24 กันยายน 53 / อ่าน : 11,037

 

       

สตช. ผนึก สสส. มูลนิธิเมาไม่ขับ เอกชน รณรงค์ลดอุบัติเหตุ ปลุกกระแส “รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค” แจกหมวกกันน็อคเด็ก พบทั่วโลกตายจากอุบัติเหตุนาทีละ 25 คน ประกาศปี 54 “รณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100%” เตรียมใช้กฎหมายเข้ม หวังลดอุบัติเหตุลงครึ่งหนึ่งใน 10 ปี  เผยผลสำรวจนักซิ่งสวมหมวกกันน็อค 62% คนซ้อนสวมหมวกกันน็อคแค่ 39% ชี้เด็กไทย ตายด้วยอุบัติเหตุ 900 คนต่อปี พบเจ็บที่หัว คอ ทำสาหัส พิการ ตาย

          เมื่อวันที่ 29 ก.ย. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มูลนิธิเมาไม่ขับ ศูนย์ขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า แถลงข่าวนโยบายด้านการจราจรและความปลอดภัยทางถนน พร้อมเปิดโครงการรณรงค์ปลุกกระแสสังคมไทยใส่ใจสวมหมวกกันน็อค “รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค” และทำพิธีมอบหมวกกันน็อกให้กับผู้แทนเยาวชนและประชาชน  โดยพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถิติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน พบว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึง 1.3 ล้านคน  หรือทุกนาทีจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 25 คน  และทำให้มีผู้พิการถึงปีละ 50 ล้านคน สำหรับประเทศไทย สถานการณ์อุบัติเหตุยังน่าเป็นห่วง โดยในปี 2552 มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 10,171 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีสตช. ผนึก สสส. มูลนิธิเมาไม่ขับ เอกชน รณรงค์ลดอุบัติเหตุ ปลุกกระแส “รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค” แจกหมวกกันน็อคเด็ก พบทั่วโลกตายจากอุบัติเหตุนาทีละ 25 คน ประกาศปี 54 “รณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100%” เตรียมใช้กฎหมายเข้ม หวังลดอุบัติเหตุลงครึ่งหนึ่งใน 10 ปี  เผยผลสำรวจนักซิ่งสวมหมวกกันน็อค 62% คนซ้อนสวมหมวกกันน็อคแค่ 39% ชี้เด็กไทย ตายด้วยอุบัติเหตุ 900 คนต่อปี พสาเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่  โดยอัตราของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ  60-70% เป็นกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และไม่สวมหมวกนิรภัย

“กลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นกลุ่มที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด พบว่าผู้ขับขี่จักรยานยนต์ในประเทศไทย เริ่มขี่ตั้งแต่อายุ 9-14 ปี สอดคล้องกับอัตราการจับกุมการกระทำผิดกฎจราจร ที่มีการจับกุมผู้ไม่มีใบอนุญาตขับขี่จำนวนมาก เพื่อร่วมรณรงค์ลดอุบัติเหตุ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมกับสสส. มูลนิธิเมาไม่ขับ และภาคเอกชน จัดโครงการ รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค เป็นโครงการดีที่รณรงค์ให้กลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และให้บุตรหลานซ้อนท้าย ได้เห็นถึงอันตรายของการไม่สวมหมวกนิรภัย และหันมาให้ความสำคัญการสวมหมวกนิรภัยทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายจักรยานยนต์ สอดคล้องกับปี 2554 -2563 ที่ประเทศไทยจะประกาศให้เป็นปีทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด” พล.ต.อ.วิเชียร กล่าว

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก เมื่อปี 2550 เรื่องการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน พบว่า ประเทศไทยติดอันดับประเทศที่มีการเสียชีวิตสูงสุดลำดับที่ 106 จากการสำรวจ 178 ประเทศทั่วโลก มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 19.6 คนต่อแสนประชากร และสอบตกในมาตรการการใช้หมวกนิรภัย ไทยได้เพียง 4 คะแนนจาก 10 คะแนน ในปี 2552 ไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 10,717 คน หรือเฉลี่ยวันละ 30 คน โดย  1 ใน 3 เป็นกำลังหลักของครอบครัว และ 2 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เป็นเยาวชนอายุน้อยกว่า 15 ปี สาเหตุหลักมาจากการขับขี่จักรยานยนต์และไม่สวมหมวกนิรภัย จากข้อมูลศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์สูงถึง 8,000 คนต่อปี อายุเฉลี่ยที่ 15-25 ปี อายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 900 คนต่อปี

ดร.สุปรีดา กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ มูลนิธิไทยโรดส์ สำรวจพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ทั่วประเทศ ระหว่างเดือน มี.ค.-ก.ค. 2553 กลุ่มตัวอย่าง 76,124 คน พบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ สวมหมวกนิรภัย 62% ผู้ซ้อนท้าย สวมหมวกนิรภัย 39% ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ 56% ไม่ทราบว่าการนั่งซ้อนท้ายและไม่สวมหมวกนิรภัย มีโทษปรับทั้งคนขี่และคนซ้อน สำหรับ “การรณรงค์รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค” ถือเป็นกิจกรรมดีที่จะเตือนให้ผู้ปกครองรู้ถึงอันตรายการไม่สวมหมวกนิรภัย โดยในปีพ.ศ.2554-2563 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” โดยจะมีเป้าหมายลดการตายจากอุบัติเหตุให้ได้ 50% ในอีก 10 ปีข้างหน้า

นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ ในฐานะประธานชมรมคนห่วงหัว กล่าวว่า  มีการศึกษาวิจัยพบว่า การสวมหมวกนิรภัย ช่วยป้องกันการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ได้เป็นอย่างดี ลักษณะการบาดเจ็บของผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์โดยส่วนใหญ่ จะได้รับบาดเจ็บที่แขน ขามากที่สุด รองลงมา คือ ศีรษะและคอ ซึ่งในรายที่พิการและเสียชีวิต จะได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและคอมากที่สุด ปัจจุบันหมวกนิรภัยสำหรับเด็กมีการผลิตและได้การรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) วางจำหน่วยทั่วไป และราคาไม่แพงมาก ซึ่งการลงทุนเรื่องความปลอดภัยให้กับบุตรหลานเป็นความสำคัญลำดับแรกที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรต้องคำนึงถึง

นายอารักษ์ พรประภา ผู้อำนวยการศูนย์ขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ยังมีความเข้าใจที่ผิดๆ ว่าการขับขี่ในระยะใกล้ๆ หรือขับขี่ช้าๆ ไม่จำเป็นต้องสวมหมวกนิรภัย ซึ่งจากการสำรวจพบว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ซ้อนท้ายที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีโอกาสบาดเจ็บทางศีรษะสูงกว่าผู้ขับขี่ที่สวมหมวกนิรภัยถึง 50 เท่า

/////////////////////////////

ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ www.ddd.or.th ข่าวประชาสัมพันธ์”รักวัวให้ผูกรักลูกให้สวมหมวกกันน๊อค” และ www.thaihealth.or.th สำนักข่าว สสส.

โครงการ 

รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค

     

     สุภาษิตไทย “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”  หมายถึง ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามขังไว้ มิฉะนั้นวัวจะถูกลักพาหรือหนีหายไป  ส่วนรักลูกให้ตี ก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด 

                 ถึงจะตี จะอบรมสั่งสอนอย่างดี แต่ถ้ายังลืมคิดที่จะสวมหมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัยให้แก่ลูก  ลูกก็อาจจะไม่ได้  (มีชีวิต) เป็นคนดีของพ่อแม่

                 อย่ารอ...ให้ถึงวันที่ลูกถาม... “ไหนว่ารักหนู  ทำไมหัวหนูไม่มีหมวกกันน็อค”

 

                                                                 รักวัวให้ผูก  รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค

   

หมอแท้จริงให้ความสำคัญสิทธิเด็กด้านความปลอดภัย 

จับมือ สตช.-สสส. รณรงค์รักลูกให้สวมหมวกกันน็อก

 

นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขานุการชมรมคนห่วงหัว เปิดเผยว่า

                                จากการที่มูลนิธิเมาไม่ขับได้ดำเนินงานรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนจากการเมาแล้วขับมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี สามารถสร้างการรับรู้และความตระหนักของสังคมได้ในระดับหนึ่ง   และจากข้อมูลของเหยื่อ...เมาแล้วขับที่ประสบอุบัติเหตุจนถึงขั้นพิการทุพลภาพได้พบว่า ส่วนหนึ่งเป็นเด็กที่ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ซึ่งสาเหตุนอกจากจะเกี่ยวข้องกับการเมาแล้วขับแล้ว ยังพบว่าเป็นเพราะเด็กไม่ได้สวมหมวกนิรภัยด้วย แม้แต่สภาพความเป็นจริงบนท้องถนนถ้าลองสังเกตก็จะพบว่า ในจำนวนผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์จะเห็นผู้ใหญ่มีการสวมหมวกนิรภัยในสัดส่วนที่มากกว่า  ทั้งที่เด็กก็มีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย โดยผู้ใหญ่ต้องเป็นผู้คอยใส่ใจดูแล การที่เด็กไม่ได้รับการจัดหาหมวกนิรภัยให้สวมใส่  มองได้ว่าเด็กไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิ

                                มูลนิธิเมาไม่ขับ ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และได้มีการปรึกษาหารือร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการรณรงค์ลดอุบัติเหตุ โดยมีแนวความคิดในการรวมตัวก่อตั้งกลุ่มบุคคลเพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยเพื่อความปลอดภัยขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “ชมรมคนห่วงหัว”  ในขั้นต้นจะเน้นไปยังกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องการการเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ปกครอง  โดยใช้แนวคิดจากการนำคำสุภาษิตโบราณที่เกี่ยวข้องกับความรักของพ่อแม่มาประยุกต์เป็นสโลแกนว่า  “รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อก” เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีความรักและห่วงใยอยู่แล้ว ให้ความสำคัญในการสวมหมวกนิรภัยให้ลูกน้อยเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค                                        สำหรับน้องๆ ที่อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ยังดูแลความปลอดภัยตัวเองไม่ได้และต้องการการเอาใจใส่ การปกป้องคุ้มครองจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หากยังไม่มีหมวกนิรภัยสวมใส่ ให้รวบรวมรายชื่อตนเองและเพื่อนๆ ส่งให้คุณครูที่โรงเรียน และให้โรงเรียนติดต่อมาที่  “ชมรมคนห่วงหัว”   28/12 ซอยสุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 หรืออีเมล์ [email protected]  เพื่อที่ทางชมรมจะได้ดำเนินการจัดหาหมวกนิรภัยส่งมอบให้ต่อไป

 

อุบัติเหตุทางถนนภัยร้ายบั่นทอนลูกหลานไทย

“รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค

 

 

                ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนสูงในลำดับที่ 106  จากการสำรวจ 178 ประเทศทั่วโลก (เรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง) โดยองค์การอนามัยโลก  เมื่อปี พ.ศ.2550   สูงกว่าประเทศอินเดีย ซึ่งมีประชากร 1,100 ล้านคน และประเทศเวียดนามที่มีประชากร 80 ล้านคน  และถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์หรือประเทศที่พัฒนาอย่างญี่ปุ่น พบว่าคนไทยมีอัตราการตายสูงกว่าถึง4  เท่า

ปี พ.ศ.2552  คนไทยเสียชีวิตบนท้องถนน 10,717 คน  เฉลี่ยวันละ 30 คน  1 ใน 5 ของ        ผู้เสียชีวิต คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดกว่าร้อยละ 80 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน  จากผลสำรวจของเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Watch) โดยการสอบถามผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ใน 43 จังหวัดของภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก  ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2553  พบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย มีการสวมหมวกกันน็อคเพียงร้อยละ 60  ส่วนผู้ซ้อนท้ายมีอัตราการสวมหมวกกันน็อคเพียงร้อยละ 37    ขณะเดียวกันข้อมูลการเฝ้าระวังการบาดเจ็บ กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่บาดเจ็บเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีการสวมหมวกกันน็อคเพียงร้อยละ 19  ส่วนคนซ้อนท้ายมีเพียงร้อยละ 4.7 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก   สำหรับข้อมูลการสวมหมวกนิรภัยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 - 14 ปี พบว่า จากการสำรวจของโครงการรักและห่วงใย... ใส่หมวกนิรภัยให้น้อง ของกรมควบคุมโรค  ใน 15 จังหวัดที่มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ เมื่อปี 2550  มีเด็กที่สวมหมวกนิรภัย เฉลี่ยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น

นอกจากนี้  ข้อมูลจากห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลทั่วประเทศพบว่า ในปีหนึ่งๆ มีเด็กได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 2 แสนราย โดยมีสาเหตุอันเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ถึง 1 แสนราย บาดเจ็บสาหัส 13,000 ราย โดยผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ซ้อนท้ายมีอัตราการเสียชีวิตและบาดเจ็บสูงกว่าการโดยสารรถยนต์ทั่วไปถึง 50 เท่า

โครงการรณรงค์ปลุกกระแสสังคมไทยใส่ใจสวมหมวกกันน็อค 

“รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค”

 

ความสำคัญของปัญหา 

คนไทยส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการ

เดินทางในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลที่ว่ารถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่มีราคาถูก มีความคล่องตัว สะดวกรวดเร็ว ประหยัด โดยเฉพาะคนในต่างจังหวัดที่ห่างไกล ระบบการขนส่งสาธารณะยังขยายตัวไปไม่ถึง ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า  รถจักรยานยนต์จึงจัดได้ว่าเป็นยานพาหนะที่เป็นที่นิยมของคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลจำนวนประชากรและจำนวนบ้านเรือน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และข้อมูลจำนวนรถจดทะเบียน กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากรทั้งสิ้นเท่ากับ 63,525,062 คน (ผู้หญิง 32,231,966 คน ผู้ชาย 31,293,096 คน) มีจำนวนบ้านเรือนรวมทั้งสิ้น 21,143,975 หลัง ส่วนจำนวนรถจดทะเบียนสะสมทั้งสิ้น 27,184,577 คัน เป็นรถจักรยานยนต์ 16,706,451 คัน (แยกเป็นรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 16,549,307 คัน รถจักรยานยนต์สาธารณะ 157,144 คัน) คิดเป็นร้อยละ 61.45 ของจำนวนรถทั้งหมด เฉลี่ยแล้วสัดส่วนการใช้รถจักรยานยนต์ของคนไทย 4 คนต่อรถจักรยานยนต์ 1 คัน หรือเกือบทุกหลังคาเรือนมีรถจักรยานยนต์ใช้ 1 คัน 

                         เมื่อความนิยมในการใช้รถจักรยานยนต์มีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย ผลกระทบร้ายแรงที่เกิดขึ้นตามมาอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน  ซึ่งข้อมูลจากหลายแหล่งยืนยันตรงกันว่า “รถจักรยานยนต์” เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด ถึงแม้จะแสดงจำนวนที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของการเก็บข้อมูลก็ตาม ข้อมูลจากโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ  28 แห่ง  ซึ่งเป็นข้อมูลผู้บาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุทางถนน  พบว่า ยานพาหนะของผู้บาดเจ็บเป็นรถจักรยานยนต์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.20 รองลงมา คือ รถกระบะหรือรถตู้ ร้อยละ 7.03 และรถจักรยานและสามล้อ ร้อยละ 4.20    ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 41.69  รองลงมาคือ รถยนต์ส่วนบุคคล ร้อยละ 24.89 และรถปิกอัพ ร้อยละ 17.63 และข้อมูลจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน รายงานอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์  พบว่า รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ร้อยละ 85 – 87  และลักษณะการบาดเจ็บของผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่ พบว่า แขนขาเป็นอวัยวะที่มีการบาดเจ็บมากที่สุด รองลงไปคือ ศีรษะและคอ แต่สำหรับในรายที่พิการและเสียชีวิต พบว่า มีการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะและคอมากที่สุด   นอกจากนี้พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญของผู้บาดเจ็บจากการใช้รถจักรยานยนต์  ยังพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ขับขี่ร้อยละ 89 มีการดื่มแอลกอฮอล์มากถึงร้อยละ 43.99  และไม่ได้สวมหมวกนิรภัยมากถึงร้อยละ 86.21 (ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 84.30 ผู้โดยสารไม่สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 93.87)

      การสวมหมวกนิรภัยในผู้ใช้รถจักรยานยนต์  เป็นที่ยอมรับโดยข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในหลายประเทศว่า สามารถป้องกันการตายหรือการบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

-          การศึกษาที่สหรัฐอเมริกา โดย Johnson et al.,1996 พบว่า การสวมหมวกนิรภัยลดการบาดเจ็บทางสมองได้ร้อยละ 67

-          การศึกษาที่อิตาลี โดย Servadei et al.2003 พบว่า การสวมหมวกนิรภัยลดการ

บาดเจ็บทางสมองได้ร้อยละ 30 ในทวีปเอเชีย

 

 

 

-          การศึกษาที่ประเทศไทย โดย วีระ  กสานติกุล (2002)  พบว่า ผู้ที่ไม่สวมหมวก

นิรภัยมีโอกาสบาดเจ็บทางสมองสูงกว่าผู้ที่สวมหมวกนิรภัยถึง 6 เท่า

-          การศึกษาของ Deuterman (2004) พบว่า การสวมหมวกนิรภัยช่วยลดการตายจาก

อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ได้ร้อยละ 37

                         ในประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาหมวกนิรภัยทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 แต่ในสภาพความเป็นจริงพบว่า ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ยังมีการสวมหมวกนิรภัยอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำมาก  จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2550 พบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีการสวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 54.0  ส่วนผู้โดยสารมีการสวมหมวกนิรภัยเพียงร้อยละ 30.9 เท่านั้น  ถึงแม้ปัจจุบันรัฐบาลจะให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยมีการประกาศนโยบายและกำหนดมาตรการต่างๆ หลายมาตรการ  หรือแม้กระทั่งจะมีการประกาศขององค์การสหประชาชาติให้ปี ค.ศ. 2011 – 2020 เป็นปีทศวรรษแห่งความปลอดภัยบนท้องถนน  โดยตั้งเป้าหมายในการลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนให้ลดลงร้อยละ 50  โดยขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกทุกประเทศ  ซึ่งหนึ่งในมาตรการหรือแนวทางหลักในการดำเนินงาน คือ การใช้หมวกนิรภัยกับรถจักรยานยนต์ก็ตาม  ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ได้มีกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยบ้างเป็นบางช่วง บางสถานการณ์หรือลงลึกในบางพื้นที่  แต่ยังไม่มีการพบว่า เกิดเป็นกระแสสังคมไทยที่กว้างขวางและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม 

ความเป็นมาโครงการ 

      มูลนิธิเมาไม่ขับ เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีบทบาทการดำเนินงานในการลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากผู้ขับขี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ดำเนินงานมาเป็นระยะ 14 ปีและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับหนึ่ง โดยปัญหาผู้ขับขี่เมาแล้วขับมีแนวโน้มลดลง  แต่ปัญหาการบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตของคนไทยจากอุบัติเหตุทางถนนก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขในลำดับต้นๆ ของประเทศ และทราบกันดีว่าเกิดจากการใช้ยานพาหนะรถจักรยานยนต์เป็นสาเหตุสำคัญ  มูลนิธิเมาไม่ขับจึงเกิดแนวความคิดว่า แม้ปัจจุบันการจำกัดการใช้รถจักรยานยนต์ของคนไทยจะเป็นมาตรการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่หากมีหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการบาดเจ็บที่รุนแรง ลดอัตราการพิการหรือทุพพลภาพ ลดอัตราการเสียชีวิต สังคมและลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศชาติได้  มูลนิธิเมาไม่ขับจึงได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการ “รณรงค์ปลุกกระแสสังคมให้ใส่ใจใส่หมวกกันน็อก “รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน๊อค” ขึ้น  โดยจะรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วประเทศให้ตระหนักถึงความเสี่ยงและอันตรายของอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์ว่าเกิดได้ในทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่  ไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล ช้าหรือเร็ว ทุกเวลาที่ขับขี่หรือซ้อนท้าย และประการสำคัญให้ประชาชนรับรู้ว่า การสวมหมวกนิรภัย เป็นพฤติกรรมความปลอดภัยที่สำคัญ ที่ใช้ทุนน้อยแต่ให้ผลตอบแทนสูงที่คุ้มค่าอย่างมหาศาลต่อชีวิต โดยในระยะแรกที่เปิดตัวจะเน้นไปยังกลุ่มเด็ก เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ภายใต้แนวคิด “รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน๊อค” พร้อมกันนี้ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมคนห่วงหัว เพื่อเป็นหน่วยงานในการประสานงานกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อแสวงหาความร่วมมือในทุกรูปแบบในการรณรงค์และสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายให้คนไทยหันมาใส่ใจในการสวมหมวกนิรภัยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

 

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.    เพื่อสร้างกระแสสังคมให้ประชาชนตระหนักถึงความเสี่ยงจากการใช้รถจักรยานยนต์ และความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัยทุกเวลาที่ใช้รถจักรยานยนต์โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่โดยสารรถจักรยานยนต์

            2.   กระตุ้นให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและร่วมมือกันในการป้องกันและลดปัญหาการบาดเจ็บรุนแรง การพิการและเสียชีวิตของคนไทยจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์

            3.   เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ  และเสริมสร้างพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของคนไทยในทุกครั้งที่ใช้รถจักรยานยนต์

            4.     เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สานเสวนาองค์ความรู้ อันจะนำไปสู่การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ให้หันมาเห็นถึงความสำคัญในการสวมหมวกกันน็อค

หน่วยงานสนับสนุนโครงการ

                        สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

                        สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ

  1. สมาคมผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ไทย 2. ศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ

ในเด็กโรงพยาบาลรามาธิบดี 3. บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด 4. บริษัท สยามมิชลิน จำกัด 5. บริษัท เครื่องดับเพลิงอิมพีเรียล 6. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 7. สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร 7.กรมทางหลวง

8.กรมทางหลวงชนบท  9.มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง 10. บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด 11. บริษัท เอพีฮอนด้า จำกัด 12. สมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย 12. มูลนิธิไทยโรดส์ 13. บริษัทพีเอสไอโฮลดิ้ง จำกัด 14. บริษัทสยามฟูรุกาวาเทรดดิ้ง จำกัด 15. สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ 16.บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 17. บริษัท กรังด์ปรีซ์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 18. บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด 19. บริษัท ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพฯจำกัด (มหาชน) 20. ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) 21. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 22.กรมการขนส่งทางบก 23. การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 24. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 25. กรมคุมประพฤติ 26. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 27. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 28. สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา 29. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา 30. สำนักงานเครือข่ายงดเหล้า 31. สหกรณ์แท็กซี่สุวรรณภูมิ 32. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 33. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 34. โรงเรียนวัดปทุมวนาราม 35. สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข 36. โรงพยาบาลอุดรธานี 37. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข 38. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 39. มูลนิธิคุ้มครองเด็ก 40. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก 41. สมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย 42. สมาคมวิทยาการจราจรและขนส่งแห่งประเทศไทย 43. สมคมแพทย์อุบัติเหตุ 44. มูลนิธิเมาไม่ขับ 45. องค์การอนามัยโลก 46. กรุงเทพมหานคร 47. กองบังคับการตำรวจทางหลวง 48. กองบังคับการตำรวจจราจร 49. บริษัท สื่อสากล จำกัด 50. สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

51. สำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงพระนครเหนือ 52. สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน 53. บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย จำกัด

หน่วยงานประสานงานโครงการ

ชมรมคนห่วงหัว         28/12 ซอยสุขุมวิท19 เขตวัฒนา แขวงคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

                              โทรศัพท์ 02 -2545959      โทรสาร 02-2540044

                              อีเมลล์ : [email protected]


ความคืบหน้าคดีดัง



QR Code DDD Line
ddd025750101