1. กรณีเกิดเหตุถ้าพบว่าคู่กรณีมีอาการเมาสุราให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ตรวจแอลกอฮอล์ในทันที
2. ถ้าคู่กรณีปฏิเสธการตรวจแอลกอฮอล์ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อหาเมาแล้วขับกับคู่กรณีได้ทันทีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับกฎหมายปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ (เมาไม่เป่า) บังคับใช้แล้วตั้งแต่1 มกราคม 2559
3. ถ้ารถมีประกันภัยภาคสมัครใจให้แจ้งบริษัทประกันภัย
4. อย่าเซ็นเอกสารใดๆ โดยไม่ได้อ่านข้อความอย่างเด็ดขาด
5. รวบรวมข้อมูลของคู่กรณีตั้งแต่เกิดเหตุ เช่นการพูดจาข่มขู่ดูถูกเหยียดหยามไม่แสดงออกถึงความรับผิดชอบที่ตนเองก่อขึ้นท้าให้ไปฟ้องศาล พูดจาทำร้ายจิตใจ หรือถ้ามีกล้อง มีโทรศัพท์มือถือถ่ายคลิปเจ้าหน้าที่ คู่กรณี พูดว่าอะไร แสดงพฤติกรรมเช่นไรถ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐานข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะนำประกอบคำร้องต่อศาลถึงพฤติกรรมของคู่กรณี เพื่อให้ศาลพิจารณาลงโทษคู่กรณีสถานหนักได้
6. อย่าเกรงใจใครไม่ว่าจะมีหน้าที่การงานใหญ่โตมาขอร้องให้ยอมๆ กันไปถ้าตราบใดที่ผู้ก่อเหตุไม่แสดงความรับผิดชอบในความผิดที่ก่อขึ้นเพราะเท่ากับเป็นการบ่มเพาะนิสัยที่ไม่รับผิดชอบทำให้ไม่เข็ดหลาบในที่สุดก็ไปก่อเหตุซ้ำซากอีก
7. ถ้ามีข้อสงสัยต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือเหยื่อเมาแล้วขับ 081-4439953 ID Line 0814439953 หรือ โทรศัพท์ 02-5750044,02-5750101
1. ผู้ก่อเหตุหลบเลี่ยงการตรวจแอลกอฮอล์
2. ประวิงเวลาในระหว่างที่เหยื่อรักษาตัวเพื่อให้คดีขาดอายุความ
3. เสนอค่าเยียวยาให้จำนวนหนึ่งโดยแจ้งกับเหยื่อว่า ถ้าอยากได้มากกว่าที่เสนอให้ก็ให้ไปฟ้องร้องต่อศาลเอาเอง
4. ให้เซ็นเอกสารโดยไม่มีข้อความใด ๆ
5. วิ่งเต้นให้ตกเป็นผู้ต้องหาในฐานะประมาทร่วมเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบ
6. ยอมทำข้อตกลงในการเยียวยาเหยื่อด้วยการขอผ่อนชำระให้เป็นรายเดือนถึงเวลาจริงกลับเบี้ยวไม่ผ่อนชำระให้
7. เอาผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่การงานมีหน้าตาในสังคมมาข่มขู่บังคับให้ยอมความ
8.ต่อสู้คดีในศาลในระหว่างนั้นยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้กับบุคคลอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี เมื่อคดีถึงที่สุดเหยื่อได้แต่คำพิพากษา แต่ค่าชดใช้ไม่ได้เพราะผู้ก่อเหตุไม่มีทรัพย์สินให้ยึด
9. หลบหนีในระหว่างการประกันตัวรอจนคดีหมดอายุความ
10. ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ลงโทษสถานเบาขอให้รอลงอาญาโดยอ้างว่าเป็นความประมาทไม่ได้เจตนา